8 สถานที่ท่องเที่ยว ในจังหวัด น่าน
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
สร้างเมื่อ พ.ศ.2475 เป็นอาคารแบบยุโรปซึ่งเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 5 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองน่าน เดิมใช้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดน่านแห่งแรกอีกด้วย ในปี พ.ศ.2517 อาคารแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงให้เป็นสถานที่ตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ลักษณะการจัดพิพิธภัณฑ์ใช้แสงธรรมชาติเข้าช่วย ตัวอาคารโปร่งมีหน้าต่างโดยรอบ ผู้มาเที่ยวจะรู้สึกเหมือนเดินอยู่ในบ้านมากกว่าพิพิธภัณฑ์ ภายในอาคารแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงเกี่ยวกับภาควิชาชาติพันธุ์วิทยา แสดงชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่าง ๆ ในจังหวัดน่าน รวมทั้งเทศกาลงานประเพณีที่สำคัญ เช่น การสืบชะตา และการแข่งเรือ ชั้นบน จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พบในจังหวัดน่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคเจ้าผู้ครองนครน่าน ชิ้นที่สำคัญ ได้แก่ งาช้างดำ วัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่าน ได้มาในสมัยพระยาการเมืองเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 5 เครื่องปั้นดินเผาเคลือบ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 25 พานพระศรีเครื่องเงินลงยา ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้าย
2.วัดภูมินทร์
เดิมชื่อ วัดพรหมมินทร์ เป็นวัดหลวงเก่าแก่ มีอายุกว่า 400 ปี ความสวยที่แปลกกว่าวัดอื่นของวัดภูมินทร์ คือ เป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจัตุรมุข สถาปัตยกรรมอันโดดเด่นด้วยเอกลักษณ์เฉพาะ ที่รวมเอาโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ ไว้ในอาคารเดียวกัน ในส่วนจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารหรือที่เรียกกันว่า ฮูปแต้ม ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงที่วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) และใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี ภาพปู่ม่านย่าม่าน ที่ได้รับฉายาว่า ภาพกระซิบรักบรรลือโลก อาจารย์สมเจตน์ วิมลเกษม ปราชญ์เมืองน่าน ได้แต่งคำกลอนอันสุดแสนโรแมนติกเป็นภาษาเหนือเพื่อบรรยายถ้อยคำกระซิบของปู่ม่านย่าม่าน
3. วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร
เดิมเรียกว่า วัดหลวง หรือ วัดหลวงกลางเวียง สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่เข่ง (ปู่เข็ง) พ.ศ.1949 เป็นวัดหลวงซึ่งเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091 ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย เช่น เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายใช้หลังหนุนหรือค้ำองค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย และภายในวิหารประดิษฐาน พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางประทานอภัย สูง 145 เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีส่วนผสมของทองคำ 65 เปอร์เซ็น พระประธานปูนปั้นศิลปะเชียงแสนขนาดใหญ่ ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง
4. วัดมิ่งเมืองและเสาพระหลักเมืองน่าน
5. วัดหัวข่วง
6. ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2542 จากการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้แก่เยาวชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไปที่มาเยี่ยมชม อาทิ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ห้องสมุด อาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อาคารแปรรูปชาอู่หลงพร้อมทั้งให้ทดลองชิมชา ไร่กาแฟบนภูเขา และการปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรโปนิกส์
8.วัดพระธาตุแช่แห้ง
เป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีเถาะ (ปีกระต่าย) เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองน่าน เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารริกธาตุที่ได้มาจากสมัยสุโขทัย องค์พระธาตุบุด้วยทองเหลืองหมดทั้งองค์ เป็นศิลปะการก่อสร้างที่มีความวิจิตรงดงามมาก มีความเชื่อกันว่าผู้ที่ได้มาสักการะองค์พระธาตุแช่แห้ง จะทำให้ชีวิตอยู่ดี มีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ การงานเจริญก้าวหน้า อนุโมทนา
CR: AMAZING THAILAND
ทัวร์ในประเทศคลิ๊ก https://bit.ly/30SpcPN
Leave a Reply