ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์ |
วันที่ 1 | กรุงเทพฯ – มัณฑะเลย์ – นั่งรถสู่พุกาม – โชว์พื้นเมืองหุ่นเชิดพุกาม |
วันที่ 2 | พุกาม – ทะเลเจดีย์ – เจดีย์ชเวซานดอว์ – วัดเจดีย์ชเวสิกอง – วัดอนันดา – วัดมนุหา – วัดกุบยางกี – วัดดิโลมินโล – วัดสัญพัญญู – วิหารธรรมยันจี – นั่งรถกลับสู่มัณฑะเลย์ |
วันที่ 3 | มัณฑะเลย์ – เที่ยวเมืองมิงกุน – หมู่บ้านมิงกุน – เจดีย์มิงกุน – ล่องแม่น้ำอิระวดี – ระฆังมิงกุน – พระราชวังมัณฑะเลย์ – พระราชวังไม้สักชเวนานจอง |
วันที่ 4 | ร่วมพิธีล้างหน้าพระพักตร์พระมหามัยมุนรี – อมรปุระ – สะพานไม้อูเบ็ง – มัณฑะเลย์ – กรุงเทพฯ |
(เวลาท้องถิ่นช้ากว่าประเทศไทยประมาณ ครึ่งชั่วโมง) สายการบิน Bangkok Airways เที่ยวบินที่ PG709 (12:15-13:40) กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) – เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ ** มีบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน ** สายการบิน Bangkok Airways เที่ยวบินที่ PG710 (14:30-16:55) เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาร์ – กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) ** มีบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน ** |
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญใน เมียนมาร์
พระเจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Pagoda) ซึ่งเป็นสถูปดั้งเดิมของพม่าโดยแท้ มีลักษณะเป็นสีทองขนาดใหญ่ สร้างขึ้นหลังพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ เพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จากพระสรีระหลายส่วน มีลักษณะเป็นสีทองขนาดใหญ่ใช้เป็นทั้งที่ประชุมสวดมนต์และศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในพุกาม
![]() พระเจดีย์ชเวสิกอง (Shwezigon Pagoda) |
วัดอนันดา(Ananda Temple) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกำแพงเมือง เป็นวัดสีขาว มองเห็นได้ชัดเจนสร้างเสร็จเมื่อปี 1091 ซึ่งวิหารแห่งนี้นับได้ว่าเป็นวิหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพุกาม มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีมุขเด็จยื่นออกไปทั้ง 4 ด้านซึ่งต่อมาเจดีย์แห่งนี้เป็นต้นแบบของสถาปัตยกรรมพม่าในยุคต้นของพุกาม และสิ่งที่น่าทึ่งของวิหารแห่งนี้ก็คือ ที่ช่องหลังคาเจาะเป็นช่องเล็กๆ ให้แสงสว่างส่องลงมาต้ององค์พระ ให้มีแสงสว่างอย่างน่าอัศจรรย์
![]() วัดอนันดา(Ananda Temple) |
วิหารธรรมยันจี(Dhammayangyt) สร้างโดยพระเจ้านะระตู่ และพระองค์ก็เชื่อว่าเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองพุกาม สร้างขึ้นเพื่อล้างบาป ด้วยทรงปริวิตกว่าผลกรรมจากการกระทำปิตุฆาตจะติดตามพระองค์ไปในชาติภพหน้า ตั้งโดดเด่นยิ่งใหญ่ตระหง่านดังตำนานที่โหดร้ายได้เล่าต่อกันมา
![]() วิหารธรรมยันจี(Dhammayangyt) |
หมู่บ้านมิงกุน ซึ้งเป็นส่วนหนึ่งของอมรปุระ แต่อยู่บนเกาะกลางลำน้ำอิรวดีและไปได้ด้วยเส้นทางเรือเท่านั้นทว่ามีอนุสรณ์สถานที่แสดงความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าปดุง ระหว่างทางจะได้เห็นหมู่บ้านอิรวดีที่มีลักษณะเป็น “กึ่งบ้านกึ่งแพ” เนื่องจากระดับน้ำอิรวดีในแต่ละฤดูกาลจะมีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะฤดูน้ำหลาก ระดับน้ำจะขึ้นสูงกว่าฤดูแล้วกว่า 10 เมตร ชาวพม่าจึงนิยมสร้างบ้านกึ่งแพ คือถ้าน้ำขึ้นสูงก็ร่วมแรงกันยกบ้านขึ้นที่ดอนครั้นน้ำลงมากก็ยกบ้านมาตั้งใกล้น้ำเพื่อความสะดวกสบายในการใช้แม่น้ำในชีวิตประจำวัน
![]() หมู่บ้านมิงกุน |
เจดีย์ชินพิวมิน(เมียะเต็งดาน) ประดิษฐานอยู่เหนือระฆังมิงกุนไม่ไกล ได้ชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่สวยสง่ามากแห่งหนึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2359โดยพระเจ้าบากะยีดอว์ พระราชนัดดาในพระเจ้าปดุง เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่พระองค์มีต่อพระมหาเทวีชินพิวมิน ซึ่งถึงแก่พิราลัยก่อนเวลาอันควร ได้รับสมญานามว่า “ทัชมาฮาลแห่งลุ่มอิรวดี” เจดีย์องค์นี้เป็นพุทธศิลป์ที่สร้างขึ้นด้วยภูมิจักรวาลคือมีองค์เจดีย์สถิตอยู่ตรงกลางณยอดเขาพระสุเมรุอันเชื่อกันว่าเป็นศูนย์กลางและโลกและจักรวาล ล้อมรอบด้วยขุนเขาและมหาสมุทรตามหลักไตรภูมิ หลังจากนั้นเดินทางกลับมายังมัณฑะเลย์
![]() เจดีย์ชินพิวมิน(เมียะเต็งดาน) |
พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Palace) พระราชวังที่ส่วนใหญ่ก่อสร้างด้วยไม้สักที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือสงครามโลกครั้งที่ 2 วันที่ 20 มีนาคม 2488 เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโดยกองทัพอังกฤษได้ทิ้งระเบิดจำนวนมากมายถล่มพระราชวังมัณฑะเลย์ของพม่าด้วยเหตุผลว่าพระราชวังนี้เป็นแหล่งซ่องสุมกำลังของกองทัพญี่ปุ่นพระราชวังมัณฑะเลย์ซึ่งเป็นพระราชวังไม้สักก็ถูกไฟไหม้เผาราบเป็นหน้ากลองหลงเหลือก็แต่ป้อมปราการและคูนํ้ารอบพระราชวังที่ยังเป็นของดั่งเดิมอยู่ปัจจุปัน พระราชวังที่เห็นอยู่เป็นพระราชวังที่รัฐบาลพม่าได้จำลองรูปแบบของพระราชวังของเก่าขึ้นมา
![]() พระราชวังมัณฑะเลย์ (Mandalay Palace) |
พระราชวังไม้สักชเวนานจอง (Golden Palace Monastry) วังที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง งดงามตามแบบศิลปะพม่าแท้ๆ วิจิตรตระการด้วยลวดลายแกะสลักประณีตอ่อนช้อย ทั้งหลังคา บานประตูและหน้าต่าง โดยเน้นรายละเอียดเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติของพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระเจ้ามินดงในปี พ.ศ. 2400 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์ย้ายราชธานีจากอมรปุระมาอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์เพื่อเป็นตำหนักยามแปรพระราชฐาน แต่หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ พระเจ้าธีบอ หรือ สีป่อ พระโอรสก็ทรงยกวังนี้ถวายเป็นวัด ถือได้ว่าเป็นงานฝีมือที่ประณีตของช่างหลวงชาวมัณฑะเลย์อย่างแท้จริง
![]() พระราชวังไม้สักชเวนานจอง (Golden Palace Monastry) |
วัดกุโสดอ (Kuthodaw Pagoda) ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 5 มีแผ่นศิลาจารึกพระไตรปิฎกทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ และหนังสือกินเนสบุ๊คได้บันทึกไว้ว่า“หนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก”
![]() วัดกุโสดอ (Kuthodaw Pagoda) |
พระมหามัยมุนี อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด 1 ใน 5 แห่งของพม่า ถือเป็นต้นแบบพระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่ทรงเครื่องกษัตริย์ที่ได้รับการขนานนามว่า “พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม” ที่พระเจ้ากรุงยะไข่ทรงหล่อขึ้นที่เมืองธรรมวดี เมื่อปี พ.ศ. 689 สูง 12 ฟุต 7 นิ้ว หุ้มด้วยทองคำเปลวหนา 2 นิ้ว ทรงเครื่องประดับทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 9 ฟุต ในปี พ.ศ. 2327 พระเจ้าปดุงได้สร้างวัดมหามุนี หรือวัดยะไข่ (วัดอาระกัน หรือวัดพยาจี) เพื่อ ประดิษฐานพระมหามัยมุนี และในปี พ.ศ.2422 สมัยพระเจ้า สีปอ ก่อนจะเสียเมืองพม่าให้อังกฤษได้เกิดไฟไหม้วัดทองคำ จึงทำให้ทองคำเปลวที่ปิดพระละลายเก็บเนื้อทองได้นํ้าหนักถึง 700 บาท ต่อมาในปี พ.ศ.2426 ชาวพม่าได้เรี่ยไรเงินเพื่อบูรณะวัดขึ้นใหม่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมโดยสายการออกแบบของช่างชาวอิตาลีจึงนับได้ว่าเป็นวัดที่สร้างใหม่ที่สุดแต่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดในเมืองพม่า โดยรอบ ๆ ระเบียงเจดีย์ยังมีโบราณวัตถุที่นำไปจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งกรุงแตกครั้งที่ 1 พร้อมทั้ง เชิญทุกท่านร่วมทำบุญบูรณวัดกุสินารา ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์
![]() พระมหามัยมุนี |
สะพานไม้อูเบ็ง (U-Ben) สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในโลกโดยข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ชื่อว่าเสาอู เสาของสะพานใช้ไม้สักถึง1,208 ต้นซึ่งมีอายุกว่า200 ปีทอดข้าม ทะเลสาบคองตามัน
![]() สะพานไม้อูเบ็ง(U-Ben) |
JOURNEY TRIP CO.,LTD.
บริษัท เจอร์นี ทริป จำกัด
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 11/10176
ท่องเที่ยวต่างประเทศทั่วโลก (กรุ๊ปเหมาส่วนตัว / ทัวร์ Join) ท่องเที่ยวภายในประเทศทุกเส้นทางทั่วไทย
184/18 อาคารฟอรั่ม ทาวเวอร์ ชั้น 11 ถ.รัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
TEL : 02 245 5690 , 02 245 5691
FAX : 02 245 5690
Hotline : 06-4794-2725 , 061-636-9983 สายด่วน 24 ชั่วโมง
Email : journeytrip18@gmail.com